วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

บทที่ 1.2 ชาดก




           ชาดก คือ เรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในชาติต่างๆ ก่อนที่จะประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ในชั้นนี้จะได้เรียนชาดก 
        3 เรื่อง คือ สามเณรบัณฑิต วัณณุปถชาดกและสุวรรณสามชาดก 






1.  สามเณรบัณฑิต :  การช่างสังเกต


                 สามเณรบัณฑิต เกิดในตระกูลปัฏฐากของพระสารีบุตร มารดาของท่านแพ้ท้องอยากจะถวายอาหารแต่พระสารีบุตรพร้อมทั้งพระภิกษุ
        ประมาณ 500 รูป เมื่อได้กระทำตามนั้นแล้วอาการแพ้ท้องก็หายไป
                  เมื่ออายุ 7 ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์  หลังจากบวชเณรแล้วได้ไปบิณฑบาตกับพระสารีบุตร ระหว่าง
        ทางเห็นคนชักน้ำจากเหมืองเกิดสงสัย จึงถามว่า “น้ำมีจิตใจหรือไม่” พระเถระตอบว่า “น้ำไม่มีจิตใจ” สามเณรจึงคิดว่า เมื่อคนสามารถชักน้ำ
        ซึ่งไม่มีจิตใจไปสู่ที่ที่ตนเองต้องการได้  แต่เหตุใดจึงไม่สามารถบังคับจิตใจให้อยู่ในอำนาจได้
                  เดินต่อไปได้เห็นคนกำลังถากไม้ทำเกวียนอยู่ จึงถามว่า “ไม้นั้นมีจิตใจหรือไม่” เมื่อพระเถระตอบว่า “ไม้ไม่มีจิตใจ” สามเณรจึงคิดว่า 
         คนสามารถนำเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิตใจมาทำเป็นล้อได้  แต่ทำไมไม่สามารถบังคับจิตใจได้
                  เดินต่อไปได้เห็นคนกำลังใช้ไฟลนลูกศรเพื่อจะดัดให้ตรง จึงถามว่า “ลูกศรนั้นมีจิตใจหรือไม่” เมื่อพระเถระตอบว่า “ลูกศรไม่มีจิตใจ” 
         สามเณรจึงคิดว่า  คนสามารถดัดลูกศรให้ตรงได้  แต่ไม่สามารถบังคับจิตใจให้อยู่ในอำนาจได้
                   ทันใดนั้น สามเณรได้เกิดความคิดที่จะปฏิบัติธรรมขึ้น  สามเณรได้บำเพ็ญเพียรสมณธรรมและได้บรรลุพระอรหันต์ในเวลาต่อมา





2. วัณณุปถชาดก : ความเพียรกลางทะเลทราย

                   ในสมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเซตวัน  เมืองสาวัตถีทรงทราบเรื่องที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเกิดความท้อแท้  คิดว่าตนเองไม่มีบุญพอ
          ที่จะบรรลุธรรมได้ จึงไม่ปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงเล่าถึงความพยายามของพระองค์ในอดีตชาติ  เมื่อครั้งที่เกิดเป็นนายกองเกวียนว่า
                    กาลครั้งหนึ่ง ณ เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นนายกองเกวียนต้องนำเกวียน 500 เล่ม ออกเดินทางไปกับบริวารเพื่อค้าขาย
          ยังต่างเมืองระหว่างทางต้องผ่านทะเลทรายที่แห้งแล้งทุรกันดาร  ขบวนของพ่อค้าจะออกเดินทางได้เฉพาะกลางคืนเท่านั้น  ส่วนในเวลา
         กลางวันจะต้องหยุดพักผ่อนจนกระทั่งเหลืออีกเพียงวันเดียวก็จะถึงจุดหมายปลายทาง เหล่าบริวารต่างคิดว่าวันรุ่งขึ้นก็จะถึงที่หมายแล้ว ช่วง
         หยุดพักจึงได้ช่วยกันทำอาหารและใช้น้ำจนหมดสิ้น
                     ครั้นตกค่ำก็ออกเดินทางต่อ โดยมีผู้นำคอยดูดวงดาวบนท้องฟ้า  แต่ด้วยความอ่อนเพลียผู้นำทางเผลอหลับไป โคจึงเดินทางผิด
         วกกลับมาที่เดิมบริวารทั้งหลายรู้สึกอ่อนล้าและหิวมาก น้ำสำหรับดื่มและปรุงอาหารก็ใช้ไปหมดแล้ว เพราะไม่คิดว่าจะหลงทางเช่นนี้ จึงพากัน
         ท้อแท้หมดอาลัยไปตามๆกัน
                     นายกองเกวียนเห็นดังนั้น จึงคิดว่า ถ้าตนเองละความเพียรเสียอีกคน หมู่คณะก็จะถึงแก่ความตายอย่างแน่นอน จึงออกเดินสำรวจ
          ดูบริเวณรอบๆพบว่ามีหญ้ากอหนึ่งงอกขึ้นบนทรายก็คิดว่า หญ้างอกขึ้นมาได้จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ข้างล่าง จึงกลับไปบอกบริวารให้
          ช่วยกันขุดพื้นทรายใต้กอหญ้านั้นเมื่อขุดลึกลงไป 60 ศอก ก็ยังไม่พบน้ำ พบแต่แผ่นหินขวางอยู่ ทุกคนต่างก็ละความเพียรและไม่คิดหาหน
          ทางอื่น นายกองเกวียนมิได้ท้อใจลองเอาหูแนบที่แผ่นหิน  ก็ได้ยินเสียงน้ำไหลอยู่ข้างล่าง  จึงบอกให้บริวารเอาค้อนทุบแผ่นหินจนแตก
                     ทันใดนั้นก็มีสายน้ำพุขึ้นมาทุกคนต่างดีใจที่มีน้ำให้ดื่มและปรุงอาหารรับประทาน  เมื่อตกกลางคืนจึงออกเดินทางกันอีกครั้ง  
           และถึงที่หมายในวันรุ่งขึ้นอย่างราบรื่น




3.  สุวัณณสามชาดก : ความกตัญญูกตเวที


            ในสมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเซตวัน เมืองสาวัตถีทรงทราบเรื่องที่พระสงฆ์รูปหนึ่งบิณฑบาตเลี้ยงพ่อแม่ที่
ทุกข์ยากพระองค์ทรงสรรเสริญว่าดีแล้ว  ในอดีตเราก็เคยเลี้ยงดูพ่อแม่เหมือนกัน แล้วได้ตรัสเล่าเรื่องเมื่อครั้งที่พระองค์เกิดเป็น
สุวัณณสามว่า
                          กาลครั้งหนึ่ง ณ ที่ไม่ไกลจากเมืองพาราณสี มีดาบสสองสามีภรรยาอาศัยอยู่ในอาศรมกลางป่าหิมพานต์ มีบุตรชายคน
              หนึ่งชื่อ สุวัณณสาม  เป็นเด็กที่มีเมตตากรุณาและเป็นที่รักใคร่ของสัตว์ทั้งหลายต่อมาดาบสทั้งสองถูกงูพ่นพิษเข้าตา ทำให้ตาบอด
              ทั้งสองข้างสุวัณณสามจึงต้องทำหน้าที่คอยดูแลปรนนิบัติรับใช้โดยคอยจัดหาน้ำดื่ม น้ำใช้ และผลไม้ในป่าเลี้ยงดูทุกวัน
                          ในวันหนึ่งเจ้าเมืองพาราณสีได้เสด็จล่าสัตว์ในป่าหิมพานต์ และได้ยิงลูกศรอาบยาพิษถูกสุวัณณสามจนเสียชีวิต ก่อนเสีย
              ชีวิตสุวัณณสามได้บอกกับเจ้าเมืองพาราณสีว่า  ตนเองมีพ่อแม่ตาบอดที่จะต้องเลี้ยงดู  ถ้าตนเองตายก็เป็นห่วงว่าจะไม่มีใครคอย
              เลี้ยงดูพ่อแม่
                          เจ้าเมืองพาราณสีเมื่อได้ฟังและเห็นถึงความกตัญญูกตเวทีของสุวัณณสามก็รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  จึงรับปาก
              ว่าจะเลี้ยงดูพ่อแม่ของสุวัณณสามให้
                          ฝ่ายดาบสเมื่อรู้สึกว่าสุวรรณสามเสียชีวิตก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า สุวัณณสามเป็นเด็กดี มีความเมตตากรุณา และมีความ
             กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ขอให้ความดีนั้นช่วยบันดาลให้ยาพิษในร่างกายของสุวัณณสามหายไปและฟื้นคืนชีวิตด้วยแรงอธิษฐาน
             ดังกล่าวทำให้สุวัณณสามฟื้นคืนชีวิต  ส่วนดาบสทั้งสองก็หายจากตาบอดแล้วอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข





บทสรุป

                               พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า  ศาสดาของพระพุทธศาสนา  การศึกษาพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ 
                และปรินิพพานทำให้ได้แบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
                                ชาดกเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในชาติต่างๆ  ก่อนที่พระองค์จะประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย  
                ชาดกแต่ละเรื่องให้ข้อคิดที่ต่างกัน  เช่น  สามเณรบัณฑิต ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการช่างสังเกต วัณณุปถชาดก ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความเพียร  
                และสุวรรณสามชาดกให้ข้อคิดเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 1.2 ชาดก

            ชาดก คือ เรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในชาติต่างๆ ก่อนที่จะประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ในชั้นนี้จะได้เร...